ขุนพันธ์ จอมขมังเวทย์ผู้ปราบเสือร้ายแห่งเมืองคอน
เครดิตคลิป BiRdY-CH2 คนดังโลกไม่ลืม
มือปราบจอมขมังเวทย์เมืองคอน “ขุนพันธรักษ์ราชเดช” เผยประวัติยาวนานถึง 108 ปี เจ้าพิธีสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช ปราบขุนโจรดัง “เสือดำ หัวแพร” “เสือกลับ คำทอง” และอีกสารพัดเสือ ทั้งยังสร้างคุณงามความดีอื่นๆ ไว้ให้คนรุ่นหลังอีกมากมาย

ขุนพันธ์ จอมขมังเวทย์ผู้ปราบเสือร้ายแห่งเมืองคอน
พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งพักอาศัยอยู่ในบ้านพักเลขที่ 764/5 ภายในซอยราชเดช ถนนราชดำเนิน ต.ใน เมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นนายตำรวจมือปราบชื่อดังเมื่อครั้งอดีตเจ้าของฉายา “มือปราบหนังเหนียว” “มือปราบจอมขมังเวท” “มือปราบชาตรี” และ “มือปราบดาบแดง” ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของวงการข้าราชการตำรวจและประชาชนชาวนครศรีธรรมราช ทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพิธีกรรมสำคัญของนครศรีธรรมราชหลายพิธี เช่น พิธีกรรมสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อปี 2530-2531 ได้ถึงแก่อนิจกรรมลงแล้วด้วยอายุรวมถึง 108 ปี และยังเชื่อว่าเป็นท่านขุนฯ ที่ได้รับพระราชทาน ทินนามที่เสียชีวิตเป็นคนสุดท้ายของประเทศไทยก็ว่าได้
โดยลูกหลานที่ใกล้ชิดและดูแล พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช จนถึงวาระสุดท้ายได้ระบุว่า พล.ต.ต.ขุนพันธ์ได้ถึงแก่อนิจกรรมลงเมื่อเวลา 23.27 น. ของคืนวันที่ 5 ก.ค.49 ด้วยอาการสงบอันเนื่องมาจากโรคชราด้วยวัยที่สูงถึง 108 ปีท่ามกลางบุตรหลานที่มาดูแลจำนวนมากจนถึงวาระสุดท้ายที่ค่อยๆ หายใจแผ่วลงๆ จนสิ้นลมในที่สุด

ขุนพันธ์ จอมขมังเวทย์ผู้ปราบเสือร้ายแห่งเมืองคอน
“ขุนพันธ์” มือปราบ! ผู้ปิดตำนานเสือปล้น
หากสืบเรื่องราวถอยหลังจะเห็นได้ชัดว่า “เสือ” ในยุคสมัยก่อนไม่ได้เกรงกลัวต่ออาญาแห่งกฎหมายเท่าไหร่นัก ด้วยเหตุที่สภาวะสังคมที่บีบคั้น อย่างหนึ่งและความยากจนอย่างหนึ่ง แต่ทั้งหมดนั้นเมื่อผู้ใดกระทำผิดแล้วก็ถูกดูดเข้าสู่วงเวียนแห่งกรรมดิ่งลึกเข้าไปอีก การยอมมอบตัวหรือการยอมจำนนจึงแทบ ไม่มีให้เห็น ฉะนั้นการเปิดฉากไล่จับกันอย่างเอาเป็นเอาตายจนถึงขั้นวิสามัญฆาตกรรมจึงกลายเป็นเรื่องปกติในสังคมยุคนั้น
มากมายเหลือเกินที่เกิดการเสียเลือดเสียเนื้อในการเข้าปะทะกันของทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจกับฝ่ายเสือร้าย แต่นายตำรวจผู้หนึ่งที่สร้างวีรกรรม การปราบปรามเสือร้ายทุกทิศทางทำให้เกิดฉายา “รายอกะจิ” ซึ่งคุณสัมพันธ์ ก้องสมุทร ได้บันทึกคำจำกัดความของ รศ.ประพนธ์ เรืองณรงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยสงขลาฯ ไว้ว่า เป็น “วีรบุรุษพริกขี้หนู” ซึ่งหมายถึง พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช มือปราบเสือที่เลื่องชื่อในอดีต
ไพฑูรย์ อินทศิลา จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์เข้าสัมภาษณ์ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ไว้ในวันที่ 5 ตุลาคม 2546 ขุนพันธรักษ์ราชเดชนับเป็น แบบอย่างตำรวจไทยที่น่ายกย่อง ข้อมูลต่างๆ จากนี้ เสมือนเป็นแผ่นหน้าประวัติศาสตร์แห่งวงการตำรวจไทยและเป็นทั้งข้อคติเตือนใจให้อนุชนรุ่นหลังตระหนักถึง “เสือ” อาชญากรแผ่นดินที่ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่าง
ท่านขุนฯ ได้พูดถึงเสือในยุคสมัยนั้นว่า เสือในขณะนั้นเป็นสิ่งที่ใครต่อใครก็อยากเป็นอยู่แล้ว เพราะนั่นย่อมหมายถึง ความยิ่งใหญ่ ความโหดร้าย และคำว่า “เสือ” กระตุ้นให้เกิดความระห่ำ ความกล้าใจพองโตและฮึกเหิม เสือพวกนี้จะมีอิทธิพล มีสมัครพรรคพวกมาก อีกทั้งในเวลานั้นการปราบปรามเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะต้องไล่ล่าบุกป่าฝ่าดงแหวกคมหนามเข้าไปในถิ่นของมัน ยิ่งถ้าเสือตัวนั้นเป็นเสือทางภาคใต้ปราบยากกว่าเสือภาคกลาง เพราะเสือภาคใต้มีวิชา มีของดี ของขลัง ติดตัว แต่ทางภาคกลางไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้มากนัก แต่ให้ความสำคัญกับจำนวนของสมัครพรรคพวก
“เสือแต่ละรายมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมกว่าในปัจจุบัน แต่ถ้าจะว่าไปแล้วเสือในสมัยนั้นจะยึดถือและรักษาคำสัตย์ ท่านขุนฯ ได้เปรียบเทียบเสือในแต่ละยุคสมัยไว้น่าคิด เมื่อสังคมเปลี่ยน จิตใจคนก็อาจเปลี่ยนตามได้เหมือนกัน การรักษาสัจจะนี้เองผลักดันให้เกิดการตกลงกันระหว่างฝ่ายเสือกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการเข้าร่วมปราบปรามเสือในก๊กอื่นๆ เช่น ชุมเสือฝ้าย ได้มีการพูดคุยและส่วนหนึ่งก็ถูกกดดันจากเจ้าหน้าที่ให้ร่วมกันปราบปรามเสือ ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่เสือชุมอื่นๆ เป็นอย่างมาก
ท่านขุนฯ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของเสือร้ายและเหตุการณ์เป็นช่วงๆ อย่างในภาคใต้ เช่น เสือสังข์ เสืออะแวสะดอตาและ ส่วนเสือในภาคกลาง ก็ 4 เสือสุพรรณ อันประกอบด้วย เสือฝ้าย เสือใบ เสือมเหศวรและเสือดำ นั่นคือชื่อบรรดาเสือที่มีอำนาจ มีอิทธิพลอย่างมาก แต่การปราบเสือที่ได้รับการยกย่องมากที่สุด คือ การปราบขุนโจรอะแวสะดอตาและ เจ้าพ่อแห่งขุนเขาบูโด จ.นราธิวาส ขุนโจรผู้นี้มีความโหดเหี้ยมและมีเป้าหมายที่น่ากลัวมาก โดยต้องการที่จะแบ่งแยกแผ่นดินอิสลามใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกครั้งที่ทำการปล้นตามหมู่บ้านจะจงใจเลือกเหยื่อที่เป็นคนไทยนับถือศาสนาพุทธเท่านั้น เมื่อปล้นแล้วจะฆ่าเจ้าของบ้าน ตายด้วยวิธีที่โหดเหี้ยมพิสดารทุกรายไป อย่างการจิกผมแล้วใช้ “กริช” ซึ่งเป็นอาวุธประจำตัวมาทิ่มแทงที่คอจากนั้นจะกดกริชหมุนเอาเนื้อหรือหลอดลมออกมา
สิ่งที่ท่านขุนฯ ยอมรับขุนโจรอะแวสะดอตาและ ก็เห็นจะเป็นความที่มันมีของขลังอยู่จริง ท่านขุนฯ เคยยิงปะทะซึ่งๆ หน้ามาแล้ว แต่ก็ทำอะไรมันไม่ได้ การติดตามปราบปรามเกิดปะทะกันอีกครั้ง หลังจากกระหน่ำกระสุนยิงแล้วไม่สามารถเอาชีวิตมันได้ ท่านขุนฯ จึงวิ่งเข้าไปชกต่อยกันพัลวันร่วมครึ่งชั่วโมง จึงจับมันใส่กุญแจมือได้และจากการตรวจสอบพบว่า กระสุนที่ยิงตามลำตัวไม่ถูกมันเลย ส่วนกระสุนที่ซัดเข้าที่ปาก 9 นัด มันอมกระสุนไว้ในปากโดยที่ไม่มีร่องรอยบาดแผลใดๆ ฟันก็ไม่หัก ขุนโจรผู้นี้ยังคายหัวกระสุนทั้ง 9 นัด ลงกลางโต๊ะสอบสวน
เห็นชัดว่าคาถาอาคมในยุคสมัยก่อนมีบทบาทมากที่ทำให้ “เสือ” มีความกล้าและไม่เกรงกลัวเจ้าหน้าที่วิชาอาคมนั้นมีมากมาย อย่างวิชามหายันต์ วิชาตรีนิสิงเห ไทยศาสตร์ขาว ผ่านพิธีเสกว่านกิน พิธีหุงข้าวเหนียวดำ พิธีเสกน้ำมันงาดิบ พิธีแช่ยาแช่ว่าน คาถาอาคมนั่นก็คือส่วนหนึ่งที่สร้างความฮึกเหิมให้กับเสือ แล้วยังมีเครื่องรางของขลังอีกหลายอย่าง เช่น พระประหนังอยุธยา แหวนพระรอด ตะกรุดโทน เป็นต้น หลังจากการคุมขังโจรผู้นี้แล้ว ไม่เกิน 10 วัน เหมือนมันรู้ว่า จะถูกตัดสินประหารชีวิต จึงตัดสินใจกินยาพิษฆ่าตัวตาย
ไม่เพียงแต่ ขุนโจรอะแวสะดอ ตาและ ที่ต้องใช้เวลาเป็นอย่างมากในการไล่ล่า ยังมี “เสือสังข์” เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เวลาในการติดตามหลายเดือน อาวุธปืนก็ทำอะไรมันไม่ได้เหมือนกัน พอมีจังหวะในการปะทะ ท่านขุนก็บุกใส่เปลี่ยนจากการยิงเป็นการเข้าแลกด้วยมือเปล่า หมัด เท้า เข่า ศอก รวมทั้งใช้ปากกัด เสือสังข์ตัวใหญ่มาก เสือสังข์กัดขุนพันธ์ไม่ยอมปล่อย ขุนพันธ์จึงใช้ง่ามหัวแม่เท้าขวาหนีบพวงสวรรค์เสือสังข์และกดให้เสือสังข์ชิดติดกับพื้น มันชักมีดพร้าที่ เหน็บอยู่ที่เอวมาเชือดคอ แต่คมมีดเอาขุนพันธ์ไม่อยู่ ในที่สุดเสือสังข์ก็สิ้นฤทธิ์และตายในที่สุด ท่านขุนฯ ยอมรับว่าการปราบเสือสังข์นั้นทำให้ท่านเกือบเอาตัวไม่ รอด
ประวัติของ พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช
สำหรับประวัติของ พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธร เขต 8 เป็นนายตำรวจชาวเมืองนครศรีธรรมราช ได้สร้างเกียรติ ประวัติในตำแหน่งหน้าที่ จนเป็นที่รู้จักและยอมรับกันทั่วไปในภาคใต้และในจังหวัดอื่นๆ ที่ไปดำรงตำแหน่งอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝีมือในการปราบปรามโจรผู้ร้าย นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้สนใจวิชาการทั่วไป โดยสนใจทางด้านประวัติศาสตร์ คติชนวิทยาและไสยศาสตร์เป็นพิเศษ มีข้อเขียนปรากฏอยู่ในหนังสือและวารสารต่างๆ หลายเรื่อง จนถึงปัจจุบันคนทั่วไปนิยมเรียกท่านสั้นๆ ว่า “ท่านขุน”
พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช มีชื่อเดิมว่า “บุตร พันธรักษ์” เกิดเมื่อวัดที่ 18 กุมภาพันธ์ 2446 ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ 5 ตำบลดอนตะโก อำเภอท่า ศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์ เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรกกับบิดา ตั้งแต่ ก ข ก กา ไปจนจบ พออ่านสมุดข่อยได้บ้างจึง ได้เข้าเรียนที่วัดอ้ายเขียวกับอาจารย์ปานซึ่งเป็นสมภาร และอาจารย์นามสมภารรูปต่อมา และที่วัดอ้ายเขียวนี้เองท่านได้เรียนกับครูฆราวาสคนหนึ่งด้วย ชื่อนายหีด เป็นชาวอำเภอสวี จังหวัดชุมพร ซึ่งอาจารย์ปานได้พามาอยู่ที่วัดนี้ เป็นผู้ที่มีความรู้ ใครๆ เรียกกันว่าหลวงหีด นายหีดได้สอนหนังสือไทยแบบใหม่ให้ คือ ใช้แบบ เรียนเร็ว เล่ม 1-2-3 จนท่านขุนมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่ในเกณฑ์ดี
หลังจากนั้นท่าน จึงเข้าสู่การศึกษาระบบโรงเรียน โดยเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดสวนป่าน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื่อง จากท่านมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่แล้วก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ดังนั้นเมื่อเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ได้ 1 วัน ทางโรงเรียนก็เลื่อนชั้นให้เรียนในชั้นประถม ปีที่ 2 และวันรุ่งขึ้นก็เลื่อนชั้นให้เรียนชั้นประถมปีที่ 3 เป็นอันว่าท่านเข้าโรงเรียนได้เพียง 3 วัน ได้เลื่อนชั้นถึง 3 ครั้ง
เมื่อครั้งเรียนชั้นประถมปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวนป่าน มีพระภิกษุอินทร์ รัตนวิจิตร เป็นผู้สอน เรียนอยู่ประมาณ 2 เดือน โรงเรียนนั้นก็ถูกยุบ ท่าน จึงเข้าเรียนในชั้นเดิม ที่โรงเรียนวัดพระนคร ตำบลพระเสื้อเมือง (ปัจจุบันคือตำบลในเมือง) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีครูเพิ่ม ณ นคร เป็นครูประจำชั้น เรียน จบชั้นประถมปีที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน ในปี พ.ศ.2456 ได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดท่าโพธิ์ (โรงเรียนเบจมราชูทิศในปัจจุบัน)
พอเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ได้ไม่กี่เดือนก็ต้องออกจากโรงเรียนเพราะป่วยเป็นโรคคุดทะราด ต้องพักรักษาตัวปีกว่า เมื่อหายจึงคิดจะกลับมาศึกษาต่อที่ โรงเรียนเดิมแต่ปรากฏว่าเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 2 และปีที่ 3 แล้ว จึงเปลี่ยนใจเดินทางเข้าไปศึกษาที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2459 โดยไปอยู่กับ พระปลัดพลับ บุณยเกียรติ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า ที่วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) ได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตรในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ขณะเรียนที่โรงเรียนนี้ได้เรียนวิชามวย ยูโดและยิมนาสติกจากครูหลายคน เช่น ครูย้อย ครูศิริ ครูนก ครูมณี จนมีความชำนาญพอสมควร ท่าน สอบไล่ได้ชั้นมัธยมปีที่ 8 ในปี พ.ศ.2467 ต่อมาในปี 2468 จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม ขณะที่เรียนได้เป็นครูมวยไทยด้วย เรียนอยู่ 5 ปี สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ.2472
หลังจากจบการศึกษาแล้ว ทางราชการได้แต่งตั้งให้ไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อย ที่กองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรี ธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ.2473 เป็นนักเรียนทำการอยู่ 6 เดือน ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2474 ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กอง เมืองจังหวัดพัทลุง
ที่พัทลุงนี่เองที่ท่านได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่ จนเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงราชการและคนทั่วไป โดยการปราบปรามผู้ร้ายสำคัญ ของจังหวัดพัทลุง คือ เสือสังหรือเสือพุ่ม ซึ่งเป็นเสือร้ายที่แหกคุกมาจากเมืองตรัง ขุนพันธรักษ์ราชเดช เล่าว่า เสือสังนี้มีร่างกายใหญ่โต ดุร้ายและมีอิทธิพลมาก มา อยู่ในความปกครองของกำนันตำบลป่าพยอม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
นอกจากนั้นแล้วยังมีคนใหญ่คนโตหลายคนให้ความอุ้มชูเสือสัง จึงทำให้เป็นการยากที่จะปราบได้ แต่ท่านก็สามารถปรามเสือสังได้ในปีแรกที่ ย้ายมารับราชการ โดยท่านไปปราบร่วมกับ พลตำรวจเผือก ด้วงชู มี นายขี้ครั่ง เหรียญขำ เป็นคนนำทาง การปราบปรามเสือสังครั้งนี้ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก ตอนนั้นจเรพระยาศรีสุรเสนาไปตรวจราชการตำรวจที่พัทลุงพอดี ผู้ปราบเสือสังจึงได้รับความดีความชอบ คือ ว่าที่ร้อยตำรวจตรีบุตร พันธรักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นร้อย ตำรวจตรี พลตำรวจเผือก ชูด้วง เป็นสิบตรี และนายขี้ครั่ง ได้รับรางวัล 400 บาท
หลังจากนั้นมาอีก 1 ปี ท่านก็ได้ปราบผู้ร้ายสำคัญอื่นๆ 16 คน เช่น เสือเมือง เสือทอง เสือย้อย เป็นต้น ด้วยความดีความชอบ จึงได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็น “ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช” และในปี พ.ศ.2478 ได้รับเลื่อนยศเป็นนายร้อยตำรวจโท และในปีนี้ได้อุปสมบทที่วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรี ธรรมราช โดยมีท่านเจ้าคุณรัตนธัชมุนี (แบน) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชอยู่ได้ 1 พรรษา จึงลาสิกขา
ในปี พ.ศ.2479 ท่านได้ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองตรวจ ประจำกองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ได้ปราบโจร ผู้ร้ายหลายคน การปราบโจรครั้งสำคัญและทำให้ท่านมีชื่อเสียงมากคือ การปราบผู้ร้ายทางการเมืองที่นราธิวาส ในปี พ.ศ.2481 หัวหน้าโจรชื่อ “อะแวสะดอ ตาเละ” นัย ว่าเป็นผู้ที่อยู่ยงคงกระพัน เที่ยวปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยพุทธเท่านั้น ในที่สุดก็ถูกขุนพันธ์ฯ จับได้ ท่านจึงได้รับฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า “รายอกะจิ” หรือแปลว่า “ อัศวินพริกขี้หนู” และได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอกในปีนั้นเอง
พ. ศ.2482 ขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับกองเมืองพัทลุง ปี พ.ศ.2485 ย้ายเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ปราบปราม โจรหลายราย รายสำคัญ คือ เสือสายและเสือเอิบ หลังจากนั้นขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดในภาคอื่น คือ ในปี พ.ศ.2486 ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่ จังหวัดพิจิตร ได้ปฏิบัติหน้าที่มีความดีความชอบเรื่อยมาและได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายมากมาย ที่สำคัญคือการปราบ เสือโน้มหรืออาจารย์โน้ม จึงได้รับพระราชทานยศ เป็นพันตำรวจตรี
พ.ศ.2489 ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท ได้ปะทะและปราบปรามเสือร้ายหลายคน เช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือ ครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร เป็นต้น กรมตำรวจได้พิจารณาเห็นว่า ผู้ร้ายในเขตจังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรี ชุกชุมมากขึ้นทุกวันยาก แก่การปราบปรามให้สิ้นซาก จึงได้ตั้งกองปราบพิเศษขึ้น โดยคัดเลือกเอาเฉพาะนายตำรวจที่มีฝีมือในการปราบปรามรวมได้ 1 กองพัน แต่งตั้งให้ พ.ต.ต.สวัสดิ์ กัน เขตต์ เป็นผู้อำนวยการกองปราบ และ พ.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นรองผู้อำนวยการ กองปราบพิเศษได้ประชุมนายตำรวจที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2489 เพื่อวางแผนกำจัดเสือฝ้าย แต่แผนล้มเหลว ผู้ร้ายรู้ตัวเสียก่อน ขุนพันธ์ฯ ได้รับคำสั่งด่วนให้สกัดโจรผู้ร้ายที่จะแตกเข้ามาจังหวัดชัยนาท
ครั้งนั้นขุนพันธ์ฯ ใช้ดาบเป็นอาวุธคู่มือแทนที่จะใช้ปืนยาว ดาบนั้นใช้ถุงผ้าแดงสวมทั้งฝักและด้าม คนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า “ขุนพันธ์ ดาบแดง” ฝีมือขุนพันธ์ฯ เป็นที่ครั่นคร้ามของพวกมิจฉาชีพทั่วไป แม้แต่เสือฝ้ายเองก็เคยติดสินบนท่านถึง 2,000 บาท เพื่อไม่ให้ปราบปราม แต่ขุนพันธ์ฯ ไม่สนใจ คงปฏิบัติหน้าที่อย่างดีจนปราบปรามได้สำเร็จ ท่านอยู่ชัยนาท 3 ปี ปราบปรามเสือร้ายต่างๆ สงบลง แล้วได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่อยุธยา อยู่ได้ประมาณ 4 เดือนเศษก็เกิดโจรผู้ร้ายชุกชมที่กำแพงเพชร ขณะนั้นเป็นระยะเปลี่ยนอธิบดีกรมตำรวจ และขุนพันธ์ฯ ก็ถูกใส่ร้ายจากเพื่อนร่วมอาชีพว่าเป็นโจรผู้ร้าย
พล.ร.ต.หลวงสังวร ยุทธกิจ อธิบดีกรมตำรวจยังเชื่อมั่นว่าขุนพันธ์ฯ เป็นคนดี จึงโทรเลขให้ไปพบด่วนและแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการ ตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ.2490 ขุนพันธ์ฯ ได้ปรับปรุงการตำรวจภูธรของเมืองนี้ให้มีสมรรถภาพขึ้นและได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายต่างๆ ที่สำคัญคือ เสือ ไกร กับ เสือวัน แห่งอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ฝีมือการปราบปรามของขุนพันธ์ฯ ยิ่งลือกระฉ่อนไปไกล
ต่อมาในปี พ.ศ.2491 ทางจังหวัดพัทลุงมีโจรผู้ร้ายกำเริบชุกชุมขึ้นอีก ราษฎรชาวพัทลุงนึกถึงขุนพันธ์ฯ นายตำรวจมือปราบ เพราะเคยประจักษ์ ฝีมือมาแล้ว จึงเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมตำรวจ ผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอตัวขุนพันธ์ฯ กลับพัทลุงเพื่อช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย กรมตำรวจ อนุมัติตามคำร้องขอขุนพันธ์ฯ จึงได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุงอีกวาระหนึ่ง ได้ปราบปรามเสือร้ายที่สำคัญๆ สิ้นชื่อไปหลายคน ผู้ร้ายบางรายก็ หนีออกนอกเขตพัทลุงไปอยู่เสียที่อื่น
นอกจากงานด้านปราบปรามซึ่งเป็นงานที่ท่านถนัดและสร้างชื่อเสียงให้ท่านเป็นพิเศษแล้ว ท่านยังได้พัฒนาเมืองพัทลุงให้เป็นเมืองท่องเที่ยว โดยปรับปรุงชายทะเลตำบลลำปำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและให้มีตำรวจคอยตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารรถไฟที่เข้าออกเมืองพัทลุง ทำให้เมืองพัทลุง ในสมัยที่ท่านเป็นผู้กำกับการตำรวจมีความสงบสุขน่าอยู่ขึ้นมาก ตำรวจที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้เลิกไปเมื่อกรมตำรวจจัดตั้งกองตำรวจรถไฟขึ้น
ด้วยความดีความชอบในหน้าที่ราชการ ท่านจึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพันตำรวจโทในปี พ.ศ.2493 ท่านอยู่พัทลุงได้ 2 ปีเศษ จนถึง พ.ศ.2494 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2503 จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ ตำรวจภูธรเขต 8 และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.ศ.2507
ตลอดชีวิตรับราชการ พล.ต.ต.ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกียรติประวัติในการปราบ ปรามโจรผู้ร้ายคนสำคัญๆ ของจังหวัดต่างๆ ที่ท่านไปประจำอยู่ จนเป็นที่เลื่องลือของคนทั่วไปและเป็นคนที่ครั่นคร้ามของโจรก๊กต่างๆ นับได้ว่าเป็นนายตำรวจมือ ปราบคนสำคัญคนหนึ่งของเมืองไทยและด้วยฝีมือในการปราบปรามนี้เองทำให้ท่านได้รับการเลื่อนยศและตำแหน่งสูงขึ้นเป็นลำดับมา แม้เกษียณแล้วท่านก็ยังสร้าง คุณประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้านเมืองเสมอมา เช่น ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในสมัยเลือกตั้งปี พ.ศ.2516 เป็นต้น
นอกจากเกียรติคุณทั้งในและนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าวมาแล้ว ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ยังมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญซึ่งควรกล่าวถึงคือ เป็นนักวิชาการที่สำคัญคนหนึ่ง ท่านเป็นทั้งนักอ่านและนักเขียน ได้เขียนเรื่องราวต่างๆ ลงพิมพ์ในหนังสือและวารสารต่างๆ หลายเรื่อง ขุนพันธ์ฯ เป็นคนหนึ่งที่มี ความสนใจในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มาก เรื่องที่เขียนส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางไสยศาสตร์
นอกจากนั้นก็มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั้งประวัติบุคคลและสถานที่ ตำนานท้องถิ่น มวยและเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง ข้อเขียน ต่างๆ ของท่าน เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ในภาคใต้ สองเกลอ ช้างเผือกงาดำ หัวล้านนอกครู ศิษย์เจ้าคุณ มวยไทย เชื่อเครื่อง กรุงชิง เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องกรุง ชิงนั้น ท่านเล่าว่าเป็นเรื่องที่ท่านเขียนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันตามพระบรมราชโองการและต่อมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้ขออนุญาตนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ใน “รูสมิแล” วารสารของมหาวิทยาลัยปีที่ 6 ฉบับที่ 3 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ.2526 งานเขียนของท่าน ส่วนมากจะลงพิมพ์ใน สารนครศรีธรรมราช หนังสืองานเดือนสิบวิชชา (วารสารทางวิชาการของวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช) รูสมิแล (วารสารทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และหนังสือที่ระลึกในโอกาสต่างๆ ของโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ
ในด้านชีวิตครอบครัว ขุนพันธ์รักษ์ราชเดชมีภรรยาคนแรกชื่อเฉลา ตอนนั้นท่านมีอายุได้ประมาณ 30 ปี ขณะที่รับราชการอยู่ที่จังหวัดพัทลุง มีบุตร ด้วยกัน 8 คน ต่อมาภรรยาเสียชีวิต ท่านจึงได้ภรรยาใหม่ชื่อสมสมัย มีบุตรด้วยกัน 4 คน
ตลอดระยะเวลาที่รับราชการที่ผ่านมา ขุนพันธรักษ์ราชเดช ผู้หาญกล้าเสียสละเพื่อประชาชน โดยยึดมั่นปณิธานไว้… “เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่ กรุณาปรานีต่อประชาชน อดทนต่อความเจ็บปวด ไม่หวั่นไหวต่อความลำบาก ไม่มักมากในลาภผล บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน”
อาวุธคู่กาย : เดิมมีปืนเมาเซอร์ ต่อมาได้ฝึกวิชาคงกระพันชาตรีจนแตกฉาน จึงไม่จำเป็นต้องพกปืนอีก แต่อาศัยเพียงสนับมือและเพลงมวย ในการ ปราบปรามเหล่าโจรร้ายเสือร้ายก๊กต่างๆ ภายหลังได้รับมอบศาสตราวุธชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่าเป็นดาบที่ตกทอดมาจาก “พระยาพิชัยดาบหัก” ฝักดาบมีถุงผ้าสีแดงห่อหุ้ม ตัวดาบมีความคมกล้ายิ่งนัก ในระยะหลังการออกปราบปรามโจรร้าย ท่านขุนพันธ์จึงอาศัยเพียงดาบเล่มนั้นกับสนับมือออกปราบปรามเหล่ามิจฉาชีพตลอดมา จนได้ ฉายา “ขุนพันธ์ดาบแดง” เป็นที่ครั่นคร้ามของพวกมิจฉาชีพทั่วไป แม้แต่เสือฝ้ายเองก็เคยติดสินบนท่านถึง 2000 บาทเพื่อไม่ให้ปราบปราม
ผลงาน : กำหราบชุมโจรมานับไม่ถ้วน อาทิ เสือฝ้าย เสือดำ เสือมเหศวร (ที่ชาวเสียมก๊กเอามาทำเป็นหนังฟ้าทะลายโจร แต่ตัวจริงถูกปราบโดย ท่านผู้นี้) โดยเฉพาะโจรแถบทางใต้ล้วนร้ายกาจทั้งสิ้น ดังนั้นขุนพันธ์จึงต้องใช้กลยุทธ์ข่มนาม อาทิ การตัดหัวเสียบไว้หน้าโรงพัก เอาหัวโจรร้ายมาทำที่เขี่ยบุหรี่ เช่น หัวเสือสายแห่งสุราษฎร์ธานี ตลอดชีวิตรับราชการ พล.ต.ต.ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกียรติประวัติใน การปราบปรามโจรผู้ร้ายคนสำคัญๆ ของแคว้นต่างๆ ที่ท่านไปประจำอยู่ จนเป็นที่เลื่องลือของคนทั่วไป เป็นที่ครั่นคร้ามของโจรก๊กต่างๆ เป็นที่รักใคร่ของชาวประชา ราษฎรทั้งปวง นับได้ว่าท่านเป็นนายตำรวจมือปราบคนสำคัญคนหนึ่งของเสียมก๊ก และด้วยฝีมือในการปราบปรามนี้เองทำให้ท่านได้รับการเลื่อนยศและตำแหน่งสูง ขึ้นเป็นลำดับมา แม้เกษียณแล้วท่านก็ยังสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้านเมืองเสมอมา
การต่อสู้ครั้งสำคัญ : ดวลกับจอมโจรอะแวสะดอ เจ้าพ่อเขาบูโดแห่งแคว้นนราธิวาส อาแวสะดอเป็นจอมโจรที่ปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยพุทธ ทาง ราชการพยายามปราบหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงเรียกตัวท่านขุนพันธ์มา จอมโจรผู้นี้มีวิชาคงกระพันเป็นเยี่ยม ท่านขุนพันธ์ยืนยันว่า อะแวสะดอถูกยิง หมดลูกโม่ จนร่างล้มฟุบลง แต่กลับลุกขึ้นมาได้และบ้วนกระสุนทิ้งออกมาจากปาก ท่านขุนพันธุ์เห็นดังนั้นจึงล้วงสนับออกมาสวมที่มือ แล้วเข้าต่อสู้ประชิดตัว อาศัย ความชำนาญในวิชาป้องกันตัว จึงสามารถจับตัวจอมโจรอาแวสะดอได้
Cr.ตำนานคดีดัง
ที่มา = tsood